Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

-คัดลายมือ
-วาดรูปมือ 3 มิติ
-ส่งการบ้านภาพติดตาและภาพเปิดปิด
-ดูตัวอย่างภาพติดตาเพิ่มเติม
-นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
-สอนเรื่องน้ำ
-ของเล่นเกี่ยวกับน้ำ
-สอนพับดอกไม้บาน



คัดลายมือ





ภาพมือ 3 มิติ



ภาพติดตา



ภาพเปิดปิด






นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
ชื่อของเล่นลูกโป่งฟองสบู่





เพื่อนๆนำเสนอเป็นเรื่องๆของวิทยาศาสตร์



 เรื่องที่นำเสนอของเล่น

1. จุดศูนย์ถ่วง  คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน 
  
2.แรงหนีศูนย์กลาง คือ แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้นและมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง

3.แรงพยุง คือแรงที่ของเหลวพยุงวัตถุไว้ เมื่่อวัตถุนั้นอยุ่ในของเหลว

4.แรงดันอากาศ คือ เป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดัน รอบทิศทาง เรียก แรงดันอากาศ เช่น ถ้าเป่าอากาศเข้าไปในขวดน้ำ อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันฟองสบู่ให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น

5.แรงสั่นสะเทือน คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล ยกตัวอย่างเช่นการแกว่งของลูกตุ้ม  การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ หรือแม้กระทั้งการสั่นสะเทือนของลำโพง เป็นต้น

6.ความหนาแน่น



วัดระดับน้ำ
หลักการ

-น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
-ใช้ในการวัดระดับน้ำ









ดอกไม้บาน 

ความแตกต่างของดอกไม้ว่าทำไมดอกไม้บานเร็วและบานช้า



 การประยุกต์ใช้

   ภาพติดตาและภาพหมุนสามารถนำไปทำสื่อการสอนในหน่วยอื่นๆได้ วัดระดับน้ำ สามารถนำไปไว้ในมุมเสริมประสบการณ์ มุมวิทยาศาสตร์ และดอกไม้บานทำให้เด็กได้เห็นความแตกต่างของดอกไม้ว่าทำไมบานช้ากับบานเร็วทั้งที่ใช้กระดาษแบบเดียวกัน

ประเมิน
ตนเอง : ดิฉันได้ทำกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 
สภาพแวดล้อม : อากาศภายในห้องค่อยข้างเย็น อาจเสียงดังบ้าง แต่ทำให้การเรียนดูครึกครื้นสนุกสนานดีค่ะ
อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ ๆ และตัวอย่างสื่อมาให้ได้ลองเล่นจริงๆ 










วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคาร  ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
ฝึกคัดลายมือแบบตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม





ทักษะการคิดที่มีความสร้างสรรค์ 5 ขั้น 
           ขั้นที่ 1 ความคิดริเริ่ม
           ขั้นที่ 2 ความคิดคล่องแคล่ว
           ขั้นที่ 3 ความคิดยืดหยุ่น
           ขั้นที่ ความคิดละเอียดลออ
           ขั้นที่ ความคิดสร้างสรรค์
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 8 สาระ ดังนี้
            สาระที่ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
            สาระที่ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
            สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
            สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
            สาระที่ พลังงาน
            สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
            สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
            สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดูวิดีโอ เรื่อง ความลับของแสง


แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้ เมื่อมีแสงมากระทบกับวัตถุจึงสะท้อนเข้ามาที่ดวงตาของเรา นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ  การหักเหของแสง เกิดจากแสงจะเดินทางผ่านตัวกลางที่แตกต่างกันและเกิดการหักเหตามมุมของตัวกลางนั้นๆ
คุณสมบัติของวัตถุมี 3 แบบ ดังนี้
1.      วัตถุโปร่งแสง แสงสามารถทะลุผ่านได้บางส่วน เห็นแต่ไม่ชัดเจน
2.      วัตถุโปร่งใส แสงสามารถทะลุผ่านได้ เห็นชัดเจน
3.      วัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ ดูดกลืนแสง เช่น หิน เหล็ก กระดาษหนาๆ ผ้า
สื่อวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องแสง




ภาพติดตา คือ ภาพที่ทำให้เกิดความรู้สึกในการเห็นภาพซ้อนชั่วขณะ และสมองเกิดการจำและเห็นวัตถุเคลื่อนที่
การประยุกต์ใช้
เข้าใจกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาว่าเด็กต้องเรียนอะไรบ้างในวิชาวิทยาศาสตร์ ได้เห็นสื่อที่หลากหลายสามารถนำมาใช้สอนในเรื่องของแสงได้หลายชิ้น

ประเมิน          
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน  จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน ลองเล่นสื่อที่อาจารย์นำมา
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน และหาคำตอบในเรื่องต่างๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์เตรียมการสอนมาดี ให้ข้อชี้แนะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น




บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคาร  ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
         ดูวิดีโอ เรื่อง อากาศมหัศจรรย์


(ที่ชั้น 8 สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)


ความรู้ที่ได้จากวิดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
- อากาศมีตัวตนสัมผัสได้ มีน้ำหนักและต้องการที่อยู่ อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง มีทั้งอากาศเย็นและอากาศร้อน
-   อากาศเคลื่อนที่ได้ และ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
-  อากาศที่ร้อนนั้นจะมีความดันที่ต่ำกว่าอากาศเย็น

นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ Science Toys




ชื่อของเล่น  ลูกโป่งฟองสบู่

วิธีการเล่น
           
       นำอุปกรณ์เป่าลูกโป่งที่มีให้รูปต่างๆ นำไปจุ่มน้ำฟองสบู่แล้วเป่าให้เกิดลูกโป่ง เล็กหรือใหญ่ตามความต้องการ
ของเล่นชิ้นนี้เป็นของเล่นเชิงการทดลอง เพราะอากาศจากตัวเราเป็นอากาศร้อนพอเป่าฟองสบู่ออกมา ลูกโป่งจะลอยเป็นแรงกดอากาศร้อน สักพักลูกโป่งจะค่อยๆลงสู่พื้นเพราะอากาศจากลูกโป่งเริ่มเย็นและตกลงสู่พื้น

การประยุกต์ใช้ 
           วันนี้ได้รู้เรื่องอากาศจากวิดิโอและรู้เรื่องของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กหลากหลายแบบ ทำให้เราสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้และนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

ประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจดูวิดีโอ และตั้งใจนำเสนองานค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมาเรียนตรงตามเวลา ตั้งใจดูวิดีโอ ไม่เสียงดัง และมีงานมานำเสนอเกือบทุกคน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย สามารถนำวิดิโอมาปรับสอนกับวิชา ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และมีสิ่งที่น่าเรียนรู้ตลอด 

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559



งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
ณ เมืองทองธานี
18-28 สิงหาคม 2559
9.00-19.00 น.
อาคารอิมแพ็ค Hall 2-8 เมืองทองธานี

















บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ
  1. อธิบายแนวการสอน
  2. ทบทวนพยัญชนะไทย 
  3. แบ่งกลุ่ม 5 คน คิดวิธีการสอนในหัวข้อ "อากาศ"
พยัญชนะไทย



เรื่อง อากาศ
อุปกรณ์

1.กระดาษ
2.คลิป



โจทย์ : ใช้กระดาษ และ คลิป คิดวิธีการสอน ในเรื่องของอากาศ

กลุ่มที่ 1 เรื่อง ฤดูฝน

กลุ่มที่ 2 เรื่อง พัด

วิธีการสอน
  1. ร้องเพลง 
  2. ถามเด็กๆ ว่า " ถ้าอากาศร้อนเราจะใช้อะไรแทนพัดลมแอร์ได้ ? 
  3. อธิบายความหมายของพัด
  4. สอนวิธีพับพัดด้วยกระดาษ


กลุ่มที่ 3 เรื่อง กังหันลม


กลุ่มที่ 4 เรื่อง แรงต้านอากาศ
กลุ่มที่ 5 เรื่อง ฤดูกาล

กลุ่มที่ 6 เรื่อง ลมบกลมทะเล






 

วิธีการกำหนดหน่วยการสอน หาความหมายของคำว่า "อากาศ" คือ ลมมีการเคลื่อนที่


กระบวรการทางวิทยาศาสตร์
  1. ตั้งปัญหา
  2. ตั้งสมมุติฐาน
  3. ทดลอง
  4. สรุปผล
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
  1. สมอง
  2. พัฒนาการ
  3. คุณลักษณะตามวัย
  4. ธรรมชาติของเด็ก:พฤติกรรมองค์รวม


  • assimilation : การซึมซับ
  • accommodation : ปรับความรู้ใหม่