Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559


สรุปวิจัยผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ตามแนวความคิดและพัฒนาการของสมอง

ผู้วิจัย   สารภี ชมภูคำ
หลักสูตรปริญญาศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน 
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา 2552

เรื่อง  ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ตามแนวความคิดและพัฒนาการของสมอง


ความมุงหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่ อพัฒนาแผนการจัดประสบการณทักษะวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐานของนักเรียน ชั้นอนุบาลปที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรูของสมอง (Brain – based Learning) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 ตาม แนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) อนและหลังการจัดประสบการณ
 3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรูวยแผนการจัดประสบการณ ทักษะวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ ของสมอง (Brain – based Learning)

ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า
1. ทําให้ได้แผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียงตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ที่มีประสิทธิภาพ
 2. ไดแนวทางในการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ในการนําไปใช้
3. ได้แนวทางสําหรับครูที่สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และผู้สนใจในการพัฒนาทักษะ วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานต่อไป



ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
 1. ประชากร ประชากรได้แก่นักเรยนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 17 คน เป็นการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เนื่องจากชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีนักเรียนห้องเดียว
 2. กระบวนการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ได้แก่ การจัด ประสบการณ์เน้นพัฒนาการด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre - Experimental Design) โดยการใช้แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้จําแนกเครื่องมือตามลักษณะการนําไปใช้ได้ดังนี้
 1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ดังนี้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning) จํานวน 25 แผน
 1.2 แบบประเมินพฤติกรรม ใช้ประเมินหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ก่อนเรียนและหลังเรียน จํานวน 15 ข้อ เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติโดยใช้ของจริง

วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า
 1.การเก็บรวบรวมข้อมูล
 2. การวิเคราะห์ข้อมูล
 3.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สรุปผล
1.แผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) มีประสิทธิภาพ 81.06 / 81.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่ตั้งไว้
2. การพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการ และ การเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) ทั้ง 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด และทักษะการจําแนก พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการทดลองทั้ง 3 ทักษะ สูงกว่าก่อนการทดลอง และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนทั้ง 3 ทักษะ ก็สูงกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน โดยที่หลังการ ทดลองจะอยู่ในระดับดีมาก ส่วนก่อนการทดลองอยู่ในระดับพอใช้

 3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการ และการเรียนรู้ของสมอง (Brain – based Learning) มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดพัฒนาการ และการเรียนรู้ของสมอง อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.6954

สรุปบทความวิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
        

   เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ  การหยิบจับ  สัมผัส  และการสังเกตเป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์  พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์   เช่น  การจำแนก การเปรียบเทียบ  การหาความสัมพันธ์ของวัตถุ  การเรียนวิทยาศาสตร์และการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงพัฒนาควบคู่กัน  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว  ได้แก่  เรื่องพืช  สัตว์  เวลา  ฤดูกาล  น้ำ  และอากาศร่วมด้วย
ถ้าอยากให้เด็กมีโอกาสพัฒนาจินตนาการทางวิทยาศาสตร์จะทำอย่างไร
              เมื่อเด็กช่างซักถาม  อย่าทำท่ารำคาญ  แต่ต้องพยายามตอบคำถามให้ได้มากที่สุดสร้างสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นภายในบ้าน  ห้องเรียน หาหนังสือเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก  การทดลองสนุก ๆ หรือเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเตรียมไว้เสมอปลูกฝังความคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น  พาเด็ก ๆ เดินไปตามเส้นทางรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน กระตุ้นให้เด็กสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ เพราะการได้เห็น  ได้สัมผัสจากของจริง  จะช่วยกระตุ้นความใฝ่รู้ของเด็กได้อีกมาก
วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก
                        1.  กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล   เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล   พิสูจน์ได้   ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอย ๆ เด็กที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงมีระบบความคิดเชิงตรรกะที่ดี
                        2.  พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ  ไม่มีทฤษฎีใดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้  เช่น  ครั้งหนึ่งคนเคยเชื่อว่าโลกแบน  แต่ กาลิเลโอ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโลกกลม  ดังนั้นการท่องจำจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์  หากเป็นการคิดหาเหตุผล  และพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำนั้นเป็นความจริงหรือไม่ต่างหาก
                        3.  จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าวิทยาศาสตร์กับจินตนาการเป็นคนละเรื่องกัน    แต่อย่าลืมว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการตั้งสมมุติฐานก็คือจินตนาการแบบหนึ่งไอน์สไตน์เองยังยอมรับว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ  E  =  MC2  เขาคิดค้นขึ้นจากห้องแล็บในสมอง
                        4.  ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  เด็ก ๆ อาจคิดอย่างเป็นเหตุผลและเป็นระบบอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี  (คือได้คิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติมากกว่าท่องจำ)  เขาจะมีความสุขและสามารถต่อยอดไปในชั้นสูง ๆ ได้  ซึ่งไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนที่ชอบวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์เสมอไป  แต่จะดีกว่าไหม  ถ้าเราจะมีครู  นักเขียน  ทนายความ  และนักการเมืองที่มีระบบคิดเป็นเหตุเป็นผลแบบนักวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
            สำรวจโลกใกล้ตัว  สนามหญ้าพาเพลิน  เป็นกิจกรรมใกล้ตัวจนอาจมองข้ามไป  หลายคนคิดว่าสนามหญ้ากว้าง ๆ จะให้เด็กได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรกัน

กิจกรรม  ขุมทรัพย์บนพื้นหญ้า
ผิวสัมผัส  :  สิ่งแรกที่เด็กจะได้รับคือการได้สัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ  อย่างน้อยก็ผืนดินที่ปกคลุมไปด้วยหญ้าซึ่งแซมด้วยวัชพืชต่าง ๆ ให้มือของเด็กได้สัมผัสดิน ใช้เท้าวิ่งไปบนผืนหญ้าอ่อนนุ่ม  ให้ความรู้สึกต่างกับพื้นยางหรือลานปูนมากเลยทีเดียว  ซึ่งอย่างน้อย ๆ ก็ทำให้เด็กได้คุ้นเคยกับผิวสัมผัสต่าง ๆ แบบกันไป
การสังเกต :  หากเปลี่ยนจากจอทีวีมาเป็นสนามหญ้ากว้างสีเขียวได้ก็จะดีมาก   เพราะนอกจากจะช่วยฝึกสายตาแล้ว  ยังสอนให้เด็กรู้จักหัดสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอีกด้วย 



สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผสมสีแนววิทยาศาสตร์

 



เป็นการสอนวิทยาศาสตร์ที่บ้านง่ายๆ
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.น้ำยาล้างจาน
2.นมจืด
3.แม่สี3สี สีเหลือง สีฟ้า สีแดง
4.ถ้วย

แม่จะให้ลูกเทนมจืดใส่ถ้วย แล้วนำแม่สีหยดใส่ถ้วยที่มีนมทีละสีจนครบ 3 สี และหยดน้ำยาล้างจานลงไปในถ้วยที่ใส่นมและสี จากนั้นก็ถามลูกว่า เกิดอะไรขึ้น กับสี และเราเห็นเป็นรูปอะไรเป็นการสอนที่บ้านได้และไม่ต้องลงทุนเยอะ

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


เนื้อหา

     
- หน่วยไก่ สอนเรื่องสายพันธ์ วันจันทร์

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์มีไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน มีลักษณะ สี ขนาด แตกต่างกัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง



ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่






ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการสอนของเพื่อนเรื่องนม วันอังคาร






หน่วยข้าวการถนอมอาหาร วันพุธ





หน่วยกล้วย เรื่องประโยชน์และข้อระวัง วันพฤหัสบดี








หน่วยน้ำ เรื่อง cooking วันศุกร์
น้ำอัญชันน้ำผึ้งมะนาว



       
           สอนกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และSTEM
หน่วยส้ม



การประยุกต์ใช้
       การบูรณาการการเรียนการสอนตามสาระต่างๆและทำให้เราสอนได้จริง
การประเมิน


ประเมินครู
ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยต่างๆและช่วยบอกสิ่งที่เราตกหล่นไปจากการจัดกิจกรรม

ประเมินตนเอง
ตั้งใจสอนกิจกรรมมากและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมและช่วยกันร่วมกิจกรรมของเพื่อนแต่ละกลุ่ม