สรุปบทความวิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ การหยิบจับ สัมผัส และการสังเกตเป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เช่น การจำแนก การเปรียบเทียบ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุ การเรียนวิทยาศาสตร์และการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงพัฒนาควบคู่กัน แต่การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ เรื่องพืช สัตว์ เวลา ฤดูกาล น้ำ และอากาศร่วมด้วย
ถ้าอยากให้เด็กมีโอกาสพัฒนาจินตนาการทางวิทยาศาสตร์จะทำอย่างไร
เมื่อเด็กช่างซักถาม อย่าทำท่ารำคาญ แต่ต้องพยายามตอบคำถามให้ได้มากที่สุดสร้างสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นภายในบ้าน ห้องเรียน หาหนังสือเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก การทดลองสนุก ๆ
หรือเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเตรียมไว้เสมอปลูกฝังความคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
เช่น พาเด็ก ๆ เดินไปตามเส้นทางรอบ ๆ
บริเวณโรงเรียน กระตุ้นให้เด็กสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ
เพราะการได้เห็น ได้สัมผัสจากของจริง จะช่วยกระตุ้นความใฝ่รู้ของเด็กได้อีกมาก
วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก
1. กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล พิสูจน์ได้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอย ๆ
เด็กที่มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงมีระบบความคิดเชิงตรรกะที่ดี
2. พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ ไม่มีทฤษฎีใดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ครั้งหนึ่งคนเคยเชื่อว่าโลกแบน แต่ กาลิเลโอ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโลกกลม ดังนั้นการท่องจำจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ หากเป็นการคิดหาเหตุผล และพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำนั้นเป็นความจริงหรือไม่ต่างหาก
3. จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าวิทยาศาสตร์กับจินตนาการเป็นคนละเรื่องกัน แต่อย่าลืมว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการตั้งสมมุติฐานก็คือจินตนาการแบบหนึ่งไอน์สไตน์เองยังยอมรับว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ E = MC2 เขาคิดค้นขึ้นจากห้องแล็บในสมอง
4. ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ อาจคิดอย่างเป็นเหตุผลและเป็นระบบอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี (คือได้คิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติมากกว่าท่องจำ) เขาจะมีความสุขและสามารถต่อยอดไปในชั้นสูง ๆ ได้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนที่ชอบวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์เสมอไป แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะมีครู นักเขียน ทนายความ และนักการเมืองที่มีระบบคิดเป็นเหตุเป็นผลแบบนักวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์
มาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
สำรวจโลกใกล้ตัว สนามหญ้าพาเพลิน เป็นกิจกรรมใกล้ตัวจนอาจมองข้ามไป หลายคนคิดว่าสนามหญ้ากว้าง
ๆ จะให้เด็กได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรกัน
กิจกรรม ขุมทรัพย์บนพื้นหญ้า
ผิวสัมผัส : สิ่งแรกที่เด็กจะได้รับคือการได้สัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ อย่างน้อยก็ผืนดินที่ปกคลุมไปด้วยหญ้าซึ่งแซมด้วยวัชพืชต่าง ๆ
ให้มือของเด็กได้สัมผัสดิน ใช้เท้าวิ่งไปบนผืนหญ้าอ่อนนุ่ม ให้ความรู้สึกต่างกับพื้นยางหรือลานปูนมากเลยทีเดียว ซึ่งอย่างน้อย ๆ ก็ทำให้เด็กได้คุ้นเคยกับผิวสัมผัสต่าง ๆ แบบกันไป
การสังเกต : หากเปลี่ยนจากจอทีวีมาเป็นสนามหญ้ากว้างสีเขียวได้ก็จะดีมาก เพราะนอกจากจะช่วยฝึกสายตาแล้ว ยังสอนให้เด็กรู้จักหัดสังเกตสิ่งต่าง
ๆ รอบตัวอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น